การที่คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้
ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้
- คอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 2
เครื่อง
- เน็ตเวิร์ดการ์ด หรือ NIC
( Network Interface Card) เป็นการ์ดที่เสียบเข้ากับช่องที่
เมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์
ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
-
สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูล
เช่น สายสัญญาณ ส่วนสายสัญญาณที่นิยมที่ใช้กันในเครือข่ายก็เช่น สายโคแอ็กเชียล สายคู่เกลียวบิด และสายใยแก้วนำแสง เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ เครือข่าย เช่น
ฮับ สวิตช์ เราท์เตอร์ เกตเวย์ เป็นต้น
- โปรโตคอล ( Protocol) โปรโตคอลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้ติดต่อสื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถสื่อสารกันได้นั้นจำเป็นที่ต้องใช้ “ภาษา” หรือใช้โปรโตคอลเดียวกันเช่น OSI, TCP/IP,
IPX/SPX เป็นต้น
- ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (Network Operating
System)ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะเป็นตัวคอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน
1
เน็ตเวิร์คการ์ด
เน็ตเวิร์คการ์ดจะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่าย
ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “NIC (Network Interface Card)” หรือบางทีก็เรียกว่า “LAN การ์ด (LAN Card)” อุปกรณ์เหล่านี้จะทำการแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณที่สามารถส่งไปตามสายสัญญาณหรือสื่อแบบอื่นได้
ปัจจุบันนี้ก็ได้มีการแบ่งการ์ดออกเป็นหลายประเภท
ซึ่งจะถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้กับเครือข่ายประเภทแบบต่าง ๆ
เช่น อีเธอร์เน็ตการ์ด โทเคนริงการ์ด
เป็นต้น การ์ดในแต่ละประเภทอาจใช้กับสายสัญญาณบางชนิดเท่านั้น
หรืออาจจะใช้ได้กับสายสัญญาณหลายชนิด
เน็ตเวิร์คการ์ด
เน็ตเวิร์คการ์ดจะติดตั้งอยู่กับคอมพิวเตอร์
โดยเต้าเสียบเข้ากับช่องบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์
ส่วนมากคอมพิวเตอร์ที่ผลิตในปัจจุบันจะมีเฉพาะช่อง PCI
ซึ่งก็ใช้บัสที่มีขนาด 32 บิต อย่างไรก็ตาม
ยังมีคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าที่ยังมีช่องแบบ ISA
อยู่ ซึ่งมีบัสขนาด 16 บิต และมีการ์ดที่เป็นแบบ ISA จะประมวลผล ข้อมูลช้ากว่าแบบ PCI
2
สายสัญญาณปัจจุบันมีสายสัญญาณที่ใช้เป็นมาตรฐานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อยู่
3 ประเภท
2.1 สายคู่บิดเกลียว สายคู่บิดเกลียว ( twisted pair )
ในแต่ละคู่ของสายทองแดงซึ่งจะถูกพันกันตามมาตรฐาน
เพื่อต้องการลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับคู่สายข้างเคียงได้แล้วผ่านไปยังสายเคเบิลเดียวกัน หรือจากภายนอกเท่านั้น เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนั้นมีราคาไม่แพงมากใช้ส่งข้อมูลได้ดี แล้วน้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้ง
จึงทำให้ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางตัวอย่างคือสายโทรศัพท์สายแบบนี้มี 2 ชนิดคือ
ก.
สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted
Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นดังรูป เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน
ข.
สายคู่เกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP)
เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกด้วยซึ่งบางทีก็หุ้มอีกชั้นดังรูป ซึ่งทำให้สะดวกในการโค้งงอ
แต่ก็สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก
สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน
2.2 สายโคแอกเชียล สายโคแอกเชียล
เป็นตัวกลางการเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายทีวีที่มีการใช้งานกันอยู่เป็นจำนวนมากไม่ว่าจะใช้ในระบบเครือข่ายเฉพาะที่
และใช้ในการส่งข้อมูลระยะที่ไกลระหว่างชุมสายโทรศัพท์หรือการส่งข้อมูลสัญญาณวีดีทัศน์
ซึ่งสายโคแอกเชียลที่ใช้ทั่วไปก็มีอยู่ 2
ชนิด คือ 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทอล และชนิด 75โอห์ม ซึ่งก็จะใช้ส่งข้อมูลสัญญาณอนาล็อก
สายโคแอกเชียลมีฉนวนหุ้มเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า และก็เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนอื่น ๆ
ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่ที่สัญญาณไฟฟ้าสามารถส่งผ่านได้กว้างถึง
500 Mhz จึงสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราของการส่งสูงขึ้น
ลักษณะของสายโคแอกเชียล
2.3
เส้นใยแก้วนำแสง
เส้นใยนำแสง ( fiber optic ) เป็นการที่ใช้ให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้ว
ซึ่งสามารถส่งข้อมูลด้วยเป็นอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก ที่ปัจจุบันถ้าใช้เส้นใยนำแสงกับระบบอีเธอร์เน็ตก็ใช้ได้ด้วยความเร็ว
10 เมกะบิต ถ้าใช้กับ
FDDI ก็จะใช้ได้ด้วยความเร็วสูงถึง100
เมกะบิต
ลักษณะของเส้นใยนำแสง
3.
อุปกรณ์เครือข่าย
อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในเครือข่ายทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการรับ-
ส่งข้อมูลในเครือข่าย หรือใช้สำหรับทวนสัญญาณเพื่อให้การรับ-ส่งข้อมูลได้ดี
และส่งในระยะที่ไกลมากขึ้น
หรือใช้สำหรับขยายเครือข่ายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
อุปกรณ์เครือข่ายที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ฮับ สวิตซ์ เราท์เตอร์
3.1 ฮับ (Hub)
ฮับ (HUB)
คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมกันระหว่างกลุ่มของคอมพิวเตอร์
ฮับมีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง เพื่อส่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ
คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย
ฮับ (HUB)
3.2 สวิตซ์ (Switch)
สวิตซ์
(Switch)
หรือ บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อ
LAN สองเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นLAN ชนิดเดียวกัน
และก็ใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน เช่น ใช้ในการเชื่อมต่อ Ethernet
LAN ทั้งสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน
สวิตซ์
(Switch)
หรือ บริดจ์ (Bridge)
3.3 เราท์เตอร์ ( Routing )
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่ายกับหลายระบบเข้าด้วยกันที่คล้ายกับบริดจ์ แต่ก็มีส่วนการทำงานจะซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มาก โดยเราท์เตอร์ก็มีเส้นทางการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างแต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง
เรียกว่า Routing
Table ทำให้เราท์เตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทาง
และเลือกเส้นทางเหมาะสมที่สุดเพื่อใช้ในการเดินทาง
และเพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เราท์เตอร์ ( Routing
)
3.4 โปรโตคอล (Protocol)
ในการเชื่อมโยงของเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์
ในแต่ละเครื่องอาจก็ต้องมีระบบที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกัน
เช่นในการใช้งานในเครือข่ายจึงต้องเป็นมาตรฐานหรือระเบียบที่ใช้ในการติดต่อให้แต่ละเครื่องมีวิธีการสื่อสารที่เป็นไปตามแนวทางเดียวกันได้
เพื่อให้เป็นการเชื่อมโยงข้อมูล
และในการติดต่อสื่อสารของเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละเครื่องต้องมีความเข้าใจถูกต้องตรงกันและสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ไม่เกิดความเสียหายนั้นเกิดขึ้น จึงมีการกำหนดวิธีการมาตรฐานขึ้นเรียกว่า
โปรโตคอล ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าโปรโตคอล
หมายถึง กฎเกณฑ์ ข้อตกลง
ภาษาสื่อสาร รูปแบบ วิธีการเชื่อมต่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย(ระบบใดๆ
ก็ตาม)ให้สามารถติดต่อสื่อสารมีการใช้งานร่วมกันได้หลากหลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น